ยอห์นผู้ให้บัพติศมา - โรม (หอศิลป์บอร์เกเซ) ของ ยอห์นผู้ให้บัพติศมา_(การาวัจโจ)

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา
ศิลปินการาวัจโจ
ปีราว ค.ศ. 1610
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์บอร์เกเซ, โรม

ปีที่เขียนของภาพ “ยอห์นผู้ให้บัพติศมา” ของหอศิลป์บอร์เกเซยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกัน แต่เชื่อกันมาเป็นเวลานานว่าเป็นภาพที่ซื้อโดยคาร์ดินัลสคิปิโอเน บอร์เกเซราวระหว่างที่มาถึงโรมในปี ค.ศ. 1605 ถึงปีที่การาวัจโจหนีออกจากโรมในปี ค.ศ. 1606 แต่โรเบอร์โต ลองกีห์กล่าวว่าเป็นภาพที่เขียนเมื่อการาวัจโจพำนักอยู่ที่ซิซิลี (หลังปี ค.ศ. 1608) จากเหตุผลที่ว่าการใช้สีคล้ายคลึงกับภาพที่เขียนในช่วงเดียวกันนั้น ความเห็นของลองกีห์เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นและเมื่อไม่นานมานี้ก็มีความเห็นโดยทั่วไปที่ว่าเป็นภาพที่เขียนในปี ค.ศ. 1610

ภาพนี้เป็นภาพเด็กชายนั่งห่อตัวเล็กน้อยบนฉากหลังที่มืดและแกะที่กำลังและเล็มใบองุ่นแห้งสีน้ำตาล นักบุญยอห์นดูเหมือนจะนั่งอยู่ในห้วงนึกหรืออาจจะคำนึงถึงความคิดอันหมองหม่นถึงการเสียสละของพระเยซูที่จะเกิดขึ้น หรืออาจจะเป็นเพียงความรู้สึกเบื่อของตัวแบบที่นั่งให้เขียนมาเป็นเวลาหลายชั่วโมง งานนี้ก็เช่นเดียวกับงานอื่นๆ ของการาวัจโจความรู้สึกที่สื่อออกมาจากภาพมองได้ทั้งสองทาง เสื้อคลุมแดงผืนใหญ่ห่อตัวเด็กชายที่ผอมเล็กเช่นเดียวกับเพลิงในความมืดและเป็นสิ่งเดียวที่มีสีสันนอกไปจากร่างที่ซีดขาวของนักบุญ ยอห์น แกชกล่าวว่า “เมื่อเทียบกับนักบุญยอห์นคาปิโตลิเนและแคนซัสซิตี...นักบุญยอห์นฉบับบอร์เกเซก็เป็นภาพที่ใช้สีที่ลึกกว่า (richly colouristic) ที่เป็นการแสดงออกของสีแดง, ขาว และน้ำตาลทอง และเป็นภาพที่มีความเป็นอุดมคติน้อยกว่า และเป็นการเขียนแบบที่เร้าอารมณ์ทางเพศ (sensuous approach) ในการเขียนภาพชายเปลือย ซึ่งเป็นภาพที่มาก่อนหน้าของภาพที่ชายที่มีแขนขาที่ออกจะอวบในงานเขียนบางภาพที่เนเปิลส์ เช่นภาพ “พระเยซูถูกเฆี่ยน” หรือ “การตัดหัวยอห์นผู้ให้บัพติศมา””

บอร์เกเซเป็นนักสะสมที่ช่างเลือกและมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ที่หางานสะสมของงานที่ต้องตาด้วยวิธีที่รวมทั้งการขโมยเอา บอร์เกเซหรืออันที่จริงลุงสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 เพิ่งจับจูเซปเป เซซารีเข้าคุกด้วยข้อหาเท็จเพื่อที่จะยึดงานสะสมกว่าร้อยภาพของเซซารีที่รวมทั้งงานของการาวัจโจที่ตั้งแสดงอยู่ในหอศิลป์บอร์เกเซในปัจจุบัน (“เด็กชายปอกผลไม้”, “บาคคัสไม่สบาย” และ“เด็กชายกับตะกร้าผลไม้”) และมารวมกับงานอื่นของการาวัจโจที่บอร์เกเซมีอยู่แล้วที่รวมทั้ง “นักบุญเจอโรม” และ “พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญแอนน์

เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1610 ชีวิตของการาวัจโจก็เริ่มจะยุ่งเหยิง การวิจารณ์งานของจิตรกรจากชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายในการทำแต่ในกรณีของการาวัจโจเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอดได้และนักเขียนทุกคนก็ดูเหมือนจะยอมยกเว้นในข้อนี้กับงานเขียนของการาวัจโจ ในปี ค.ศ. 1606 การาวัจโจหนีออกจากโรมหลังจากที่ฆ่าคนระหว่างที่ทะเลาะกันกลางถนน; ในปี ค.ศ. 1608 การาวัจโจก็ถูกจำคุกในมอลตาแต่ก็หลบหนีได้ and again escaped; ในปี ค.ศ. 1609 การาวัจโจก็ถูกไล่ตามไปทั่วซิซิลีจนในที่สุดก็ต้องหนีไปเนเปิลส์เมื่อไปถูกทำร้ายกลางถนนเพียงไม่กี่วันหลังจากไปถึงที่นั่น ในระหว่างนั้นก็อยู่ในการพิทักษ์ของตระกูลโคโลนนาและพยายามของอภัยโทษจากพระสันตะปาปาเพื่อที่จะได้กลับไปโรมได้ อำนาจในการให้อภัยโทษอยู่ในมือของคาร์ดินัลบอร์เกเซผู้หวังจะได้รับการตอบแทนในรูปของภาพเขียน ข่าวที่ว่าการอภัยโทษที่เกือบจะได้รับมาถึงเนเปิลส์กลางปีนั้นและการาวัจโจก็ออกเดินทางพร้อมกับภาพเขียนสามภาพ ข่าวต่อมาคือการาวัจโจเสียชีวิตด้วย “ไข้” ที่พอร์โตแอร์โคเล เมืองท่าที่เป็นของสเปนเหนือกรุงโรม

ใกล้เคียง